วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปทุกบทเรียน

บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทและความสำคัญต่อทุกหน่วยงาน ทำให้มีอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากมาย ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจพากันมาเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ได้มีพัฒนากันอย่างต่อเนื่องและทันสมัยทำให้การใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว จากความสำคัญทางด้านเทคโนโลยี รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้จัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น




คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์
คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์ในสถานประกอบการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือเอกชน จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านกิจพิสัย และด้านทักษะ แต่สิ่งที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุดคือด้านกิจพิสัย เพราะในการทำงานพนักงานที่มีอุปนิสัยที่ดีย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าพนักงานที่มีนิสัยไม่ดี ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานในหน่วยงาน




แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์
การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีจำนวนมากไม่ว่าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรืออาชีพส่วนตัว นักเรียนควรเลือกอาชีพให้ตรงกับความรู้และความสามารถของตนเอง และติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาอย่างไม่หยุดนิ่งถ้าเราไม่ติดตามและใฝ่เรียนรู้ให้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้ จะทำให้เป็นคนล้าสมัยและหางานทำได้ยาก




บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน
บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างยิ่ง เพราะคนที่มีบุคลิกภาพที่ย่อมจะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ บุคลิกภาพประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล

บุคลิกภาพภายนอก ถือเป็นรูปธรรม คือ รูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด
บุคลิกภาพภายใน ถือเป็นนามธรรม คือ ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ อุปนิสัยใจคอ
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลย่อมจะแตกต่างกันไป ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลิกภาพในทุกๆด้านให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นก็จะเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข




จรรยาบรรณในวิชาชีพ
ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมใช้เป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศตากอคติและข้อครหาใดๆในการทำงาน ทำให้งานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีจรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวมๆแล้วมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา




คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน
การทำงานในทุกองค์กร คุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการทำงาน พนักงานแต่ละบุคคลจะมีคุณธรรมและจริยธรรมมากหรือน้อยขึ้นอยู่ภายในจิตใจของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่จะวัดได้ยากมากจะรู้ด้วยการเห็นด้วยตาหรือสังเกตได้จากการกระทำของแต่ละบุคคลที่ได้แสดงออกมาเท่านั้น ถ้าหน่วยงานใดที่มีพนักงานที่เป็นผู้มีจริยธรรมสูง มีความขยันและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ เห็นประโยชน์ของหน่วยงานหรือสังคมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวการทำงานร่วมกันของหน่วยงานนั้นๆก็จะมีความสุขปราศจากความขัดแย้งและเห็นแก่ตัว แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าได้พนักงานที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมเข้ามาทำงาน หน่วยงานหรือสังคมนั้นๆก็ย่อมจะเกิดปัญหาขึ้นจึงจำเป็นที่แต่ละหน่วยงานจะต้องเฟ้นหาบุคลากรที่ดีมีคุณภาพเข้ามาทำงานให้มากที่สุด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของหน่วยงานนั้นๆต่อไป




กฎหมายด้านไอซีที
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กิจการใดที่ต้องแจ้งให้ทราบหรือให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใช้พระราชกฤษฎีกา มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดตามกฎหมายสำหรับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ซึ่งควรจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และลักษณะอันพึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีมนุษยสัมพันธ์
1.1 แสดงกิริยาท่าทางสุภาพต่อผู้อื่น
1.2 พูดจาสุภาพ
1.3 ช่วยเหลือผู้อื่น
1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
1.6 ชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ
1.7 กล่าวคำขอบคุณ หรือขอโทษ ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์


2. ความมีวินัย
2.1 ปฏิบัตตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และข้อตกลงต่างๆ ของวิทยาลัย ได้แก่ แต่งกายถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ ตรงต่อเวลา รักษาสาธารณสมบัติ สิ่งแวดล้อม และเข้าร่วมกิจกรรมที่ครูอาจารย์ผู้สอนกำหนด
2.2 ประพฤติตนถูกต้องตามศิลธรรมอันดีงาม


3. ความรับผิดชอบ
3.1 มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.2 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้
3.3 ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ
3.4 ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ
3.5 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
3.6 มีความเพียรพยายามในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3.7 ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง
3.8 ยอมรับการกระทำของตนเอง
3.9 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง
3.10 ปฏิบัติงานโดนคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้อื่น
3.11 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม


4. ความซื่อสัตย์สุจริต
4.1 พูดความจริง
4.2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง
4.3 ไม่ทุจริตในการสอบ
4.4 ไม่ลักขโมย


5.ความเชื่อมั่นในตนเอง
5.1 กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
5.2 กล้าทักท้วงในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5.3 กล้ายอมรับความจริง
5.4 เสนอตัวเข้าแข่งขันหรือทำงานท้าทาย
5.5 กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง


6. การประหยัด
6.1 ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับงาน
6.2 ปิดน้ำ ปิดไฟ ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
6.3 ใช้จ่ายเงินของส่วนรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด


7. ความสนใจใฝ่รู้
7.1 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
7.2 ชักถามปัญหาข้อสงสัย
7.3 แสวงหาประสบการณ์และค้นคว้าข้อมูลใหม่
7.4 มีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ใหม่


8. การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน
8.1 ไม่สูบบุหรี่
8.2 ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา
8.3 ไม่เสพสิ่งเสพติดอื่นๆ
8.4 ไม่เล่นการพนัน
8.5 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่มีการเล่นการพนัน


9. ความรักสามัคคี
9.1 ไม่ทะเลาะวิวาท
9.2 ร่วมมือในการทำงาน


10. ความกตัญญูกตเวที
10.1 ตระหนักในพระคุณครู อาจารย์
10.2 มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
10.3 อาสาช่วยงานครูอาจารย์


11. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
11.1 คิดสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
11.2 มีความคิดหลากหลายในการแก้ปัญหา


12. การพึ่งตนเอง
12.1 สามารถแก้ปัญหารเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง
12.2 สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง
12.3 หารายได้พิเศษได้ด้วยตนเองเมื่อจำเป็น

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของจรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง กราประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม


จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์
1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2. ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับลูกค้า
4. มีความจงรักภักดีต่อองค์กร
5. อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
6. ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
7. มีความรักและศรัทธาต่องานอาชีพ



จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท



อาชญากรรม 6 ประเภท
1. การเงิน - อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ช (หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) E-Commerce
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ - การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่าโดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อจัดจำหน่ายหรือเผยแพร่พลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ - หารให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯ
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ - ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัวเช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์จะเกี่ยวข้องกับการเจาะระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ - ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ USC 2252A การประมวลผลหรือการแพร่ภาพอนาจารเด็กถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเตอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรมแบบเก่า
6. ภายในโรงเรียน - ถึงแม้ว่าอินเตอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนากรแต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมายสิทธิของตนเองและวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด


สรุป
ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมใช้เป็นหลักยึดถือในการปฎิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหาใด ๆ ในการทำงาน ทำให้ผลงานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฎิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

บุคลิกภาพ
บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะถายนอกและภายในของแต่ละบุคคล ทำให้บุคคลแต่ละคนนั้นมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแตกต่างกันออกไป
ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม คือ
- รูปร่างหน้าตาของแต่ละคนที่เป็นมาตั้งแต่เกิด
- มีพิวพรรณสวยงามเหมาะสมตามธรรมชาติ
- มีส่วนสูงและน้ำหนักตามมาตรฐาน
- มีความเข้มแงของสุภาพบุรุษ แความนุ่มนวลของสุภาพสตรี
ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม คือ
- ทางด้านจิตใจ
- อุปนิสัยใจคอ
- ความรู้สึกนึกคิด
- ความร่าเริงแจ่มใส

การพัฒนาบุคลิกภาพ
เนื่องจากแต่ละคนมีลักษณะของบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาบุคลิกภาพให้มีการยอมรับจากผู้ที่พบเห็น สำหรับการเสริมสร้างบุคลิกภาพให้เป็นที่ยอมรับการดำรงชีวิตในสังคมก็จะมีความสุข

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ

1. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา
2. ทำให้ร่างกายมีความคล่องแคล่วว่องไว
3. มีความร่าเริง จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี
4. มีกิริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ
5. ไม่วู่วาม มีความสุขุมรอบคอบ มีสติ ควบคุมตัวเองได้
6. มีความอดทน
7. ยอมรับความเป็นจริง
8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก
9. มีความคิดใฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน
10. ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
11. ผู้อื่นพบเห็นแล้วเกิดความเชื่อมั่น
12. สร้างความเข้าใจกับผู้อื่นได้ง่าย มีความโอบอ้อมอารี
13. มีความสุขในการทำงาน
14. มีความกระตือรือร้น

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พรบ คอมพิวเตอร์ 50

หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท


มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี


มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)


มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔


มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย


มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร